**** ข้อควรระวังเกี่ยวกับการเก็บรักษาแบตเตอรี่ ****
- การเก็บรักษาแบตเตอรี่นั้นไม่ควรวางเอาไว้ในสถานที่ชื้น
หรือ ร้อนจัด เพราะจะทำให้แบตเตอรี่เสียหาย ควรจะวางไว้ในที่อากาศถ่ายเทสะดวก ควรหาจุกพลาสติกมาเสียบไว้ที่ขั้วแบตทั้ง
2 ข้าง เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น
- ควรตรวจเช็คแบตเตอรี่ทุก ๆ 6 เดือน ด้วยการอัดไฟ สำหรับแบตเตอรี่
ที่เก็บมานานหรือแรงดันไฟฟ้าต่ำกว่า 12.4 V และคายไฟสำหรับแบตเตอรี่ไฟฉุกเฉิน หรือวิธีง่าย ๆ คือ การใช้งานแบตเตอรี่ให้สม่ำเสมอ
-
หากแบตเตอรี่โดนลมนาน ๆ จะทำให้ขั้วแบตเตอรี่เกิดขี้เกลือขึ้นได้
ทำให้ไม่สามารถจ่ายพลังงานได้เต็มที่ ควรแก้ด้วยการใช้น้ำร้อนหยดลงบนขั้วแบต
จะช่วยขจัดขี้เกลือเหล่านั้นออกไปได้ หรือให้ใช้กระดาษทรายแบบละเอียด
หรือแปรงทองเหลืองขัดที่หัวขั้ว
- เลือกใช้แบตเตอรี่ให้เหมาะสมกับชนิดงานที่ใช้
ก็ช่วยให้แบตเตอรี่นั้นมีอายุยาวนานได้ เช่น
งานโซล่าร์เซลล์ควรเน้นใช้งานแบตเตอรี่ชนิดดีฟไซเคิล
ที่ออกแบบมาให้ใช้กับงานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าเป็นหลัก
- ต้องมีการตรวจสอบสภาพของแบตเตอรี่ทุกตัวอย่างสม่ำเสมอ อย่าให้มีรอยแตกร้าว
เพราะจะทำให้แบตเตอรี่ไม่เก็บไฟ
-
แบตเตอรี่ส่วนมากจะมีอายุการใช้งานประมาณ 1-2 ปี
ขึ้นอยู่กับการดูแลของผู้ใช้งานเป็นสำคัญ
**** การคายประจุไฟของแบตเตอรี่
****
ระบบการคายไฟ
แบ่งได้เป็น 3 ระบบ ดังนี้
1. CA (Constant current) คือ ระบบการคายไฟที่ให้กระแสคงที่
โดยจะตัดการคายไฟที่เวลา
2. FV (Final Voltage) คือ ระบบการคายไฟที่ให้กระแสคงที่
โดยจะตัดการคายไฟที่แรงดันไฟฟ้า (โวลต์)
3. LV (Last voltage) คือ ระบบการคายไฟที่ให้กระแสคงที่
แรงดันไฟฟ้าคงที่
โดยจะตัดการคายไฟที่เวลาการการคายไฟที่ดีควรมีการควบคุมแรงดันไฟฟ้า
เพื่อช่วยป้องกันการเสื่อมของแผ่นธาตุในแบตเตอรี่ ซึ่งจะช่วยยืดอายุการใช้งานได้
-
สำหรับแบตเตอรี่ 12 โวลด์ การคายไฟไม่ควรต่ำกว่า 9 โวลต์
-
สำหรับแบตเตอรี่ 6 โวลด์ การคายไฟไม่ควรต่ำกว่า 4.5 โวลต์
**** การตรวจสอบแบตเตอรี่เบื้องต้น ****
1. เช็คแรงดันไฟฟ้า (โวลต์ ,V)
- กรณีแรงดันไฟฟ้าน้อย 12.8v ให้นำไปชาร์จไฟเพิ่ม
- กรณีแรงดันไฟฟ้าน้อยกว่า 12v ให้นำไปชาร์จไฟเพิ่มแบบช้า (0.05C)
2. การเช็คแอมป์ว่าสามารถจ่ายโหลดให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ตรงตามที่ระบุไว้บนแบตเตอรี่หรือไม่
3. กรณีหลังจากนำมาชาร์จไฟเพิ่ม
- ถ้าชาร์จแบตเตอรี่ไม่เข้า ให้ทดสอบโดยการเปลี่ยนเครื่องชาร์จแบตเตอรี่ก่อน
เพื่อทดสอบดูว่าเครื่องชาร์จตัวเดิมไม่สามารถอัดประจุเข้าแบตเตอรี่ได้หรือไม่
- ถ้าชาร์จเข้า แต่เมื่อเราชาร์จเต็มแล้วพักทิ้งวันสัก 1 คืน
นำแบตเตอรี่ลูกนั้นมาวัดโวลต์อีกครั้ง ถ้าโวลต์ยังต่ำกว่า 11.8v นั่นก็คือแบตเตอรี่มีการคายประจุได้เร็วกว่ามาตรฐานหรือเรียกง่าย
ๆ คือไม่เก็บไฟแล้ว กรณีใช้งานถูกต้องและยังไม่หมดประกัน ควรติดต่อผู้ขายทันที
**** สาเหตุที่ทำให้แบตเตอรี่เสื่อม ****
1. การอัดประจุไฟน้อยเกินควร ( Under Charging)
- เกิดคราบขาวที่แผ่นธาตุของแบตเตอรี่ที่อยู่ภายในส่งผลให้อัดประจุไฟได้ยาก
แม้จะใช้เครื่องชาร์จแบตเตอรี่ที่มีกระแสชาร์จสูงก็ตาม
- ทำให้แผ่นธาตุเสื่อมสภาพ
ไม่เก็บประจุเลย เนื่องจากไม่มีการอัดประจุเป็นเวลานาน
2. การอัดประจุมากเกินไป (Over Charging)
- แบตเตอรี่มีอาการบวมของซึ่งเกิดจากแผ่นธาตุขยายดันออกมา
สังเกตได้จากแบตเตอรี่ที่ผิดรูปทรงไปจากเดิม
จากการใช้เครื่องชาร์ที่มีกระแสการชาร์จที่สูงมาทำการอัดประจุ
ซึ่งอันตรายมากถ้ายังฝืนใช้งานต่อไป
- อายุการใช้งานของแบตเตอรี่สั้นเกินไป
เช่น แบตเตอรี่ใหม่ใช้งานได้แค่ 1-2 เดือน
3. การเกิดซัลเฟต ( Sulfation)หรือเรียกว่า
ขี้เกลือ
แผ่นธาตุที่มีผลึกซัลเฟตสีขาวเกาะติดอยู่ที่บริเวณแผ่นธาตุ
- ปล่อยทิ้งแบตเตอรี่ไว้นาน
ๆ โดยไม่ได้นำไปใช้งานเลย
- การอัดประจุไฟที่น้อยเกินไป
เรียกง่าย ๆ ว่าไม่มีการชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่เลย
- แผ่นธาตุโผล่พ้นระดับน้ำกรด
|